ราคาแอร์บ้าน

อุปกรณ์ป้องกันคอมเพรสเซอร์แอร์เสีย

สำหรับการที่คอมเพรสเซอร์แอร์จะมีความเสียหายขณะใช้งานนั้น สามารถมีได้หลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า , คอมเกิดอาการ lock rotor เป็นต้น ซื่งในที่นี้เราจะพูดถึงสาเหตุที่คอมเพรสเซอร์แอร์เกิดการ lock rotor

ขั้นแรกขอเกริ่นนำระบบการหมุนเวียนของน้ำยาแอร์ตามปกติก่อนนะครับ ก็คือที่ตัวคอมเพรสเซอร์จะมี 2 ท่อ คือ ท่อดูด(suction) และท่ออัด(liquid) โดยที่ท่ออัดจะมีแรงดันน้ำยาประมาณ 350 ปอนด์/ตารางนิ้ว ซึ่งน้ำยาจะอยู่ในสถานะแก็สก่อนที่จะไหลเข้าแผงคอยล์ร้อน และเมื่อน้ำยาผ่านแผงคอยล์ร้อนออกมาแล้วแรงดันจะไม่เกิน 250-300 ปอนด์/ตารางนิ้ว เมื่อมีแรงดันขนาดนี้น้ำยาจะเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะของเหลวแล้วและจะเคลื่อน ตัวผ่านตัวฉีดน้ำยา(capilary tube) แล้วก็ไปผ่านแผงคอยล์เย็น แล้วน้ำยาก็กลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์แอร์ทางท่อดูดเพื่อเริ่มวัฎจักรใหม่ ซึ่งช่วงนี้แรงดันน้ำยาแอร์จะอยู่ที่ 65 -78 ปอนด์/ตารางนิ้ว (แล้วแต่อุณหภูมิห้องและขนาดรูของตัวฉีดน้ำยา)

และกรณีที่คอมเพรสเซอร์แอร์จะมีอาการ lock rotor นั้น ก็มีสาเหตุมาจากน้ำยาที่ผ่านแผงคอยล์ร้อนแล้วมีแรงดันสูงเกิน 350 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลานานๆ โดยสาเหตุอาจจะเกิดมาจากแผงคอยล์ร้อนสกปรก , ตัวฉีดน้ำยาแอร์ฝืดเนื่องจากมีน้ำมันจากความชื้นไปเกาะ , พัดลมระบายร้อนรอบตกระบายความร้อนได้ไม่ดี เป็นต้น

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวนี้ด้วย ซึ่งเรียกว่า “ไฮเพรสเชอร์” ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้หลักการทำงานคือ เมื่อแรงดันน้ำยาเราสูงเกิน ปอนด์/ตารางนิ้ว มันจะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ออก ทันที เพื่อที่จะเป็นการเตือนเราล่วงหน้าว่าเกิดการผิดปกติของระบบน้ำยาแอร์แล้ว ทำให้เราจะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีก่อนที่คอมเพรสเซอร์แอร์จะเสียหายจนแก้ไข ไม่ได้

และอุปกรณ์ป้องกันอีกตัวหนึ่งก็คือ “โลเพรสเชอร์” หลักการทำงานก็คือ เมื่อน้ำยาแอร์ทางด้านดูดน้อยกว่า 35 ปอนด์/ตารางนิ้ว มันจะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ออกทันที ซึ่งก็จะทำให้เราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันก่อนที่คอมเพรสเซอร์แอร์จะเสียหาย เนื่องจากไม่มีน้ำยาแอร์ในระบบ ส่วนวิธีการใส่อุปกรณ์ป้องกันคอมเพรสเซอร์นี้แนะนำว่าควรเรียกช่างแอร์ผู้ชำนาญจะดีกว่านะครับ

1 Comment on อุปกรณ์ป้องกันคอมเพรสเซอร์แอร์เสีย

  1. ดี

Leave a comment